17 ธันวาคม 2566
580
“นักเรียนสิงคโปร์” ครองที่ 1 ด้านคณิตฯ-วิทย์-การอ่าน
การศึกษาไทยมักจะถูกเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่บ่อยๆ แม้หลายฝ่ายเคยเสนอให้มีแผนปฎิรูปการศึกษา แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ขณะที่การวัดผลในระดับนานาชาติ อันดับการศึกษาไทยลดลงเรื่อยๆ ในทางตรงข้าม สิงคโปร์ กลับแข็งแกร่งและอยู่ในมาตรฐานที่สูงขึ้น
ล่าสุดจากการวัดผลนักเรียนจำนวน 6,606 คน จากโรงเรียนมัธยมทั้งหมด 149 แห่ง และโรงเรียนเอกชนอีก 15 แห่ง ซึ่งรวมถึงโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียน Madrasahs พบว่าสิงคโปร์ครองอันดับ 1 จากการประเมินด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ภายใต้โครงการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment: PISA) ปี 2565
การศึกษาดังกล่าวจัดทำขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งล่าช้าออกไป 1 ปี เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
เมื่อเทียบกับการประเมินในปี 2561 พบว่า การประเมินในปี 2565 นักเรียนสิงคโปร์ยังสามารถรักษาระดับผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์ไว้ได้ ขณะที่ในด้านวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก และด้านการอ่านลดลงเล็กน้อย
กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์กล่าวว่า การอ่านที่ลดลงของนักเรียนสิงคโปร์นั้นคล้ายกับที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ จำนวนมาก และอาจสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านทั่วโลกด้วย
อย่างไรก็ดี จากการวัดผลประเมินของ PISA ครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ยังคงมีสัดส่วนของนักเรียนที่ทำผลคะแนนได้ดีในระดับสูง เช่น ด้านการอ่าน ประมาณ 23% ของนักเรียนในสิงคโปร์เป็นผู้ทำผลคะแนนได้ดี ขณะที่ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คิดเป็น 41% และ 24% ตามลำดับ
กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์มองว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความพยายามมุ่งมั่นของโรงเรียนและครูในการสนับสนุนการเรียนรู้และชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนตลอดช่วงการแพร่ระบาด
ขณะที่นักเรียนในสิงคโปร์ก็เก่งด้านการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สามารถแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องออกจากกันได้ และมีการใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนภายใต้บริบทสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยจะเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนในการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล การปรากฏตัวของเทคโนโลยีใหม่ และการเกิดอาชีพใหม่
ทั้งนี้ ผลการประเมินในปี 2565 ของประเทศไทย พบว่า เมื่อเทียบกับการประเมินในปี 2561 นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านการอ่านลดลง
ล่าสุดจากการวัดผลนักเรียนจำนวน 6,606 คน จากโรงเรียนมัธยมทั้งหมด 149 แห่ง และโรงเรียนเอกชนอีก 15 แห่ง ซึ่งรวมถึงโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียน Madrasahs พบว่าสิงคโปร์ครองอันดับ 1 จากการประเมินด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ภายใต้โครงการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment: PISA) ปี 2565
การศึกษาดังกล่าวจัดทำขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งล่าช้าออกไป 1 ปี เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
เมื่อเทียบกับการประเมินในปี 2561 พบว่า การประเมินในปี 2565 นักเรียนสิงคโปร์ยังสามารถรักษาระดับผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์ไว้ได้ ขณะที่ในด้านวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก และด้านการอ่านลดลงเล็กน้อย
กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์กล่าวว่า การอ่านที่ลดลงของนักเรียนสิงคโปร์นั้นคล้ายกับที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ จำนวนมาก และอาจสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านทั่วโลกด้วย
อย่างไรก็ดี จากการวัดผลประเมินของ PISA ครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ยังคงมีสัดส่วนของนักเรียนที่ทำผลคะแนนได้ดีในระดับสูง เช่น ด้านการอ่าน ประมาณ 23% ของนักเรียนในสิงคโปร์เป็นผู้ทำผลคะแนนได้ดี ขณะที่ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คิดเป็น 41% และ 24% ตามลำดับ
กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์มองว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความพยายามมุ่งมั่นของโรงเรียนและครูในการสนับสนุนการเรียนรู้และชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนตลอดช่วงการแพร่ระบาด
ขณะที่นักเรียนในสิงคโปร์ก็เก่งด้านการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สามารถแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องออกจากกันได้ และมีการใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนภายใต้บริบทสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยจะเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนในการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล การปรากฏตัวของเทคโนโลยีใหม่ และการเกิดอาชีพใหม่
ทั้งนี้ ผลการประเมินในปี 2565 ของประเทศไทย พบว่า เมื่อเทียบกับการประเมินในปี 2561 นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านการอ่านลดลง