28 มกราคม 2567
704
คนรวยมอง “กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 11 ของโลก ค่าครองชีพ “แพง”
Julius Baer เปิดเผยรายงาน Global Wealth and Lifestyle Report 2023 เพื่อสำรวจค่าครองชีพของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมุมมองในสายตาของคนรวยนั้น เมืองไหนที่พวกเขาคิดว่าต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อให้ได้ชีวิตแบบ “กินหรู อยู่สบาย” หรือว่าสถานที่นั้นยังแพงแม้ในสายตาคนรวย
โดยใช้ดัชนีชี้วัดของ Julius Baer Lifestyle Index ซึ่งการสำรวจนี้จัดในเมือง 25 แห่งทั่วโลก ผ่านรายการสิ่งของเครื่องใช้และบริการที่กลุ่มคนรวยนิยมบริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันประมาณ 20 รายการ เช่น รถยนต์ วิสกี้ ไวน์ ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ เป็นต้น
ผลปรากฏว่า ราคาสินค้าและบริการในดัชนี มีราคาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 13% ใน 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินต่างๆ และเพิ่มขึ้นเพียงราว 6% เมื่อเทียบเป็นสกุลดอลลาร์
ค่าครองชีพในเอเชีย จากเมืองหลัก 6 แห่งทำอันดับสูงขึ้น โดย 3 อันดับแรกของเมืองที่มีค่าครองชีพสูงขึ้น ได้แก่ สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกง แสดงว่าการใช้ชีวิตที่เมืองในเอเชียส่วนใหญ่มีต้นทุนคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
สำหรับประเภทสินค้าที่แพงขึ้นลำดับต้นๆ ในเมืองหลักของภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ โรงแรมห้องสวีท (+39%), ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ (+33%), รถยนต์ (+25%) และไวน์ (+25%)
กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 6 ของเมืองที่ค่าครองชีพปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อย้อนกลับไปปี 2022 กรุงเทพฯ ยังอยู่ในอันดับที่ 15 ในปี 2023 กรุงเทพฯ ไต่ระดับสูงขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 11 ของโลก และอันดับ 5 ในเอเชีย
สิ่งของที่แพงขึ้นในกรุงเทพฯ จากปี 2022 มา 2023 ได้แก่
นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองที่มีแนวโน้มที่จะไต่อันดับขึ้นไปอีกในอนาคต
Christian Gattiker หัวหน้าฝ่ายวิจัย Julius Baer กล่าวว่า “บรรดาเศรษฐีจะต้องสร้างผลตอบแทนให้ได้มากว่า 6% ในหน่วยดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ในแบบเดิม
Julius Baer ระบุว่าข้อมูลจากรายงานดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบ และอาจไม่ได้สะท้อนการใช้ชีวิตของผู้มีความมั่งคั่งสูงอย่างครบถ้วน แต่สินค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นการคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของคนกลุ่มนี้มักเลือกใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั่นเอง
ที่มา : Julius Baer : Global Wealth and Lifestyle Report 2023
โดยใช้ดัชนีชี้วัดของ Julius Baer Lifestyle Index ซึ่งการสำรวจนี้จัดในเมือง 25 แห่งทั่วโลก ผ่านรายการสิ่งของเครื่องใช้และบริการที่กลุ่มคนรวยนิยมบริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันประมาณ 20 รายการ เช่น รถยนต์ วิสกี้ ไวน์ ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ เป็นต้น
ผลปรากฏว่า ราคาสินค้าและบริการในดัชนี มีราคาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 13% ใน 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินต่างๆ และเพิ่มขึ้นเพียงราว 6% เมื่อเทียบเป็นสกุลดอลลาร์
ค่าครองชีพในเอเชีย จากเมืองหลัก 6 แห่งทำอันดับสูงขึ้น โดย 3 อันดับแรกของเมืองที่มีค่าครองชีพสูงขึ้น ได้แก่ สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกง แสดงว่าการใช้ชีวิตที่เมืองในเอเชียส่วนใหญ่มีต้นทุนคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
สำหรับประเภทสินค้าที่แพงขึ้นลำดับต้นๆ ในเมืองหลักของภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ โรงแรมห้องสวีท (+39%), ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ (+33%), รถยนต์ (+25%) และไวน์ (+25%)
กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 6 ของเมืองที่ค่าครองชีพปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อย้อนกลับไปปี 2022 กรุงเทพฯ ยังอยู่ในอันดับที่ 15 ในปี 2023 กรุงเทพฯ ไต่ระดับสูงขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 11 ของโลก และอันดับ 5 ในเอเชีย
สิ่งของที่แพงขึ้นในกรุงเทพฯ จากปี 2022 มา 2023 ได้แก่
1.โรงแรมห้องสวีท (+83%)
2. รถยนต์ (+26%)
3. ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ (+19%)
4. กระเป๋าถือสำหรับสุภาพสตรี (+16%)
5. จักรยาน (+15%)
นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองที่มีแนวโน้มที่จะไต่อันดับขึ้นไปอีกในอนาคต
Christian Gattiker หัวหน้าฝ่ายวิจัย Julius Baer กล่าวว่า “บรรดาเศรษฐีจะต้องสร้างผลตอบแทนให้ได้มากว่า 6% ในหน่วยดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ในแบบเดิม
Julius Baer ระบุว่าข้อมูลจากรายงานดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบ และอาจไม่ได้สะท้อนการใช้ชีวิตของผู้มีความมั่งคั่งสูงอย่างครบถ้วน แต่สินค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นการคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของคนกลุ่มนี้มักเลือกใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั่นเอง
ที่มา : Julius Baer : Global Wealth and Lifestyle Report 2023