31 มกราคม 2567
462
ศาลตัดสิน "ก้าวไกล" หาเสียงแก้ ม.112 “เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง” แต่ไม่ยุบพรรค
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยการกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นนโยบายหาเสียงเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่
ในวันนี้ (31 ม.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดแถลงการณ์ด้วยวาจาในคำวินิจฉัยส่วนตนทั้ง 9 คน พร้อมประชุมปรึกษาหารือ และลงมติ 9:0 ว่า “นายพิธา และพรรคก้าวไกล” มีการกระทำเข้าข่ายเป็นการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้เลิกการกระทำ การแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อให้มีการยกเลิกกฎหมาย ม.112 และไม่ให้แก้ ม.112
แม้เหตุการณ์คำร้องผ่านพ้นไปแล้ว แต่การดำเนินการรณรงค์ให้ยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มีลักษณะดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นขบวนการโดยใช้หลายพฤติการณ์ประกอบกัน ทั้งการชุมนุม การจัดกิจกรรม การรณรงค์ผ่านสื่อสังคม การเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา การใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง
“หากยังปล่อยให้ผู้ถูกร้องทั้งสองกระทำการต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองจึงเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง, ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ
ขณะที่ บรรยากาศศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้อง มาฟังศาลอ่านคำวินิจฉัยด้วยตัวเอง ขณะที่ผู้ถูกร้องนายพิธาและนายชัยธวัช ตุลาธน มอบหมายทีมทนายมาฟังแทน
คำร้องดังกล่าว นายธีรยุทธ ร้องต่ออัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ เดือน พ.ค.66 โดยศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในวันที่ 12 ก.ค.66 และให้ผู้ร้องผู้ถูกร้องส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.66 จนถึงวันที่ศาลนัดชี้ขาดคำร้องในวันนี้ 31 ม.ค.67
ที่มา : ThaiPBS, BBC Thai
ในวันนี้ (31 ม.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดแถลงการณ์ด้วยวาจาในคำวินิจฉัยส่วนตนทั้ง 9 คน พร้อมประชุมปรึกษาหารือ และลงมติ 9:0 ว่า “นายพิธา และพรรคก้าวไกล” มีการกระทำเข้าข่ายเป็นการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้เลิกการกระทำ การแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อให้มีการยกเลิกกฎหมาย ม.112 และไม่ให้แก้ ม.112
แม้เหตุการณ์คำร้องผ่านพ้นไปแล้ว แต่การดำเนินการรณรงค์ให้ยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มีลักษณะดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นขบวนการโดยใช้หลายพฤติการณ์ประกอบกัน ทั้งการชุมนุม การจัดกิจกรรม การรณรงค์ผ่านสื่อสังคม การเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา การใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง
“หากยังปล่อยให้ผู้ถูกร้องทั้งสองกระทำการต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองจึงเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง, ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ
ขณะที่ บรรยากาศศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้อง มาฟังศาลอ่านคำวินิจฉัยด้วยตัวเอง ขณะที่ผู้ถูกร้องนายพิธาและนายชัยธวัช ตุลาธน มอบหมายทีมทนายมาฟังแทน
คำร้องดังกล่าว นายธีรยุทธ ร้องต่ออัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ เดือน พ.ค.66 โดยศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในวันที่ 12 ก.ค.66 และให้ผู้ร้องผู้ถูกร้องส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.66 จนถึงวันที่ศาลนัดชี้ขาดคำร้องในวันนี้ 31 ม.ค.67
ที่มา : ThaiPBS, BBC Thai