29 มิถุนายน 2567
278
เปิด 10 ธุรกิจ สุดปังโกยรายได้สูงสุดปี 66
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยข้อมูล ผลประกอบการนิติบุคคลประจำปี 66 มาวิเคราะห์ ในเชิงธุรกิจพบว่า รายได้ของนิติบุคคลทั่วประเทศมีจำนวนกว่า 57.86 ล้านล้านบาท และมีผลกำไรกว่า 2.34 ล้านล้านบาท
.
โดยกลุ่มภาคการผลิต สามารถทำรายได้สูงสุดจำนวน 23.72 ล้านล้านบาท คิดเป็น 41.00% ของรายได้ทั้งหมด เป็นผลกำไรจำนวน 1.10 ล้านล้านบาท คิดเป็น 47.03% ของกำไรสุทธิทั้งหมด
.
รองลงมา คือกลุ่มภาคขายส่งและขายปลีก ทำรายได้ 23.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 40.30% ของรายได้ทั้งหมด ทำกำไรอยู่ที่ 0.46 ล้านล้านบาท คิดเป็น 19.57% ของกำไรสุทธิทั้งหมด
.
และสุดท้ายกลุ่มภาคบริการ ทำรายได้จำนวน 10.82 ล้านล้านบาท คิดเป็น 18.70% ของรายได้ทั้งหมด เป็นผลกำไรจำนวน 0.78 ล้านล้านบาท คิดเป็น 33.40% ของกำไรสุทธิทั้งหมด
.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังได้วิเคราะห์ลงลึกไปถึงรายธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้สูงสุด 10 อันดับแรก มีดังนี้
.
ธุรกิจทั้ง 10 อันดับดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดไซส์ L ที่สามารถทำรายได้สูงสุดในธุรกิจแต่ละประเภท
.
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยจากกระแส Art Toy ของเล่นสะสมที่สร้างสรรค์งานศิลปะโดยศิลปินจากต่างประเทศและศิลปินไทยก็กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก ส่งผลให้ “ธุรกิจของเล่น” กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องจับตามอง
.
แม้ในช่วง 5 ปี ย้อนหลังที่ผ่านมา (พ.ศ.2562 - 2566) ธุรกิจของเล่นจะมีการเติบโตที่ผันผวนเพราะมีปัจจัยด้านการแพร่ระบาดของโควิด19 มาส่งผลกระทบเชิงลบ แต่เมื่อสถานการณ์สงบลงธุรกิจของเล่นก็ใช้เวลาไม่นานที่สามารถกลับมาพลิกฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
.
โดยเฉพาะ ธุรกิจขนาดเล็ก (S) ที่ครองตลาดส่วนใหญ่มากถึง 1,024 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตจำนวน 220 ราย และกลุ่มขายจำนวน 804 ราย คิดเป็น 93.7% จากจำนวนธุรกิจของเล่นที่มีจำนวน 1,093 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตจำนวน 238 ราย
.
สำหรับปี 2566 ธุรกิจของเล่น สามารถสร้างรายได้รวมถึง 19,677.21 ล้านบาท และทำกำไรได้ 467.62 ล้านบาท การเติบโตของธุรกิจของเล่นส่วนสำคัญเป็นผลมาจากการเกิดกลุ่มในวงการของเล่นที่เรียกว่า “Kidult” ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความนิยมในการสะสมของเล่นและมีกำลังการซื้อสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองในวัยเด็ก การสะสมเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต
.
โดยกลุ่มภาคการผลิต สามารถทำรายได้สูงสุดจำนวน 23.72 ล้านล้านบาท คิดเป็น 41.00% ของรายได้ทั้งหมด เป็นผลกำไรจำนวน 1.10 ล้านล้านบาท คิดเป็น 47.03% ของกำไรสุทธิทั้งหมด
.
รองลงมา คือกลุ่มภาคขายส่งและขายปลีก ทำรายได้ 23.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 40.30% ของรายได้ทั้งหมด ทำกำไรอยู่ที่ 0.46 ล้านล้านบาท คิดเป็น 19.57% ของกำไรสุทธิทั้งหมด
.
และสุดท้ายกลุ่มภาคบริการ ทำรายได้จำนวน 10.82 ล้านล้านบาท คิดเป็น 18.70% ของรายได้ทั้งหมด เป็นผลกำไรจำนวน 0.78 ล้านล้านบาท คิดเป็น 33.40% ของกำไรสุทธิทั้งหมด
.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังได้วิเคราะห์ลงลึกไปถึงรายธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้สูงสุด 10 อันดับแรก มีดังนี้
.
1. ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่นปิโตรเลียม ทำรายได้ 3.84 ล้านล้านบาท
2. ธุรกิจขายส่งนาฬิกาและเครื่องประดับ ทำรายได้ 3.12 ล้านล้านบาท
3. ธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ ทำรายได้ 2.39 ล้านล้านบาท
4. ธุรกิจผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล ทำรายได้ 1.56 ล้านล้านบาท
5. ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ ทำรายได้ 1.55 ล้านล้านบาท
6. ธุรกิจขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถนั่งส่วนบุคคล ทำรายได้ 1.45 ล้านล้านบาท
7. ธนาคารพาณิชย์ ทำรายได้ 1.11 ล้านล้านบาท
8. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำรายได้ 1.07 ล้านล้านบาท
9. ธุรกิจขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์ ในร้านเฉพาะสถานีบริการน้ำมัน ทำรายได้ 1.02 ล้านล้านบาท
10. ธุรกิจขายส่งเชื้อเพลิงเหลว ทำรายได้ 0.96 ล้านล้านบาท
.ธุรกิจทั้ง 10 อันดับดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดไซส์ L ที่สามารถทำรายได้สูงสุดในธุรกิจแต่ละประเภท
.
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยจากกระแส Art Toy ของเล่นสะสมที่สร้างสรรค์งานศิลปะโดยศิลปินจากต่างประเทศและศิลปินไทยก็กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก ส่งผลให้ “ธุรกิจของเล่น” กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องจับตามอง
.
แม้ในช่วง 5 ปี ย้อนหลังที่ผ่านมา (พ.ศ.2562 - 2566) ธุรกิจของเล่นจะมีการเติบโตที่ผันผวนเพราะมีปัจจัยด้านการแพร่ระบาดของโควิด19 มาส่งผลกระทบเชิงลบ แต่เมื่อสถานการณ์สงบลงธุรกิจของเล่นก็ใช้เวลาไม่นานที่สามารถกลับมาพลิกฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
.
โดยเฉพาะ ธุรกิจขนาดเล็ก (S) ที่ครองตลาดส่วนใหญ่มากถึง 1,024 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตจำนวน 220 ราย และกลุ่มขายจำนวน 804 ราย คิดเป็น 93.7% จากจำนวนธุรกิจของเล่นที่มีจำนวน 1,093 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตจำนวน 238 ราย
.
สำหรับปี 2566 ธุรกิจของเล่น สามารถสร้างรายได้รวมถึง 19,677.21 ล้านบาท และทำกำไรได้ 467.62 ล้านบาท การเติบโตของธุรกิจของเล่นส่วนสำคัญเป็นผลมาจากการเกิดกลุ่มในวงการของเล่นที่เรียกว่า “Kidult” ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความนิยมในการสะสมของเล่นและมีกำลังการซื้อสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองในวัยเด็ก การสะสมเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต