เร่งกำจัด ปลาหมอสีคางดำ ปลาเอเลียนทำลายสมดุลระบบนิเวศ

เร่งกำจัด ปลาหมอสีคางดำ ปลาเอเลียนทำลายสมดุลระบบนิเวศ ปลาหมอสีคางดำ หรือ Blackchin Tilapia จัดเป็นปลาเอเลียนสปีชีส์ (Alien Species) ชนิดพันธุ์ปลาต่างถิ่นรุกราน (Invasive alien species) จากการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของมัน ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและสมดุลระบบนิเวศ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์ลดลง 
.
ชาวบ้านเสียแหล่งอาหารและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ เนื่องจากปลาชนิดนี้เติบโตได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ทั้งยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถออกลูกออกหลานได้ครั้งละมาก ๆ 
.
ปลาหมอสีคางดำ จะมีเนื้อน้อย กระดูกแข็งมาก สามารถรับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม โดย เนื้อปลาตัวใหญ่ทำได้หลายเมนู แต่ปลาตัวเล็กที่ติดขึ้นกับการจับมีจำนวนมากกว่า ควรนำไปทำปลาป่น โดยราคารับซื้อเฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ 8 - 10 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคากลางที่ใช้ซื้อขายปลาหมอสีคางดำกัน
.
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ยอมรับว่า มีสัตว์ เอเลียนส์สปีชีส์หลายชนิดระบาดในประเทศไทย รวมทั้งปลาหมอสีคางดำ อาจมีที่มาได้ 2 สมมติฐาน คือ 

1. การลักลอบนำเข้ามาในประเทศ เพราะมีการจับปลาลักลอบนำเข้า "ปลาปิรันยา" ได้ที่ดอนเมือง
2. การขออนุญาตนำเข้าปี 2553 เพื่อทดลองวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปลานิล ซึ่งอาจมีการหลุดรอดได้ 
.
กรมประมง มีการรายงานว่า ในปี 2553 บริษัทเอกชนรายหนึ่งมีการนำเข้าจำนวน 2,000 ตัว ซึ่งพบว่ามีปลามีสุขภาพไม่แข็งแรงและตายจำนวนมากในระหว่างทาง ทำให้เหลือปลาที่ยังมีชีวิตไม่มาก และสุดท้ายมีการทำลาย พร้อมส่งมอบซากคืนกรมประมง

หลังจากนั้น กรมประมงได้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงฯ ห้ามนำเข้าปลาหมอสีคางดำ ในปี 2561 ซึ่งช่วงก่อนหน้าประกาศฉบับนี้เป็นช่วงที่มีการนำเข้าปลาหมอสีคางดำมาเพาะพันธุ์เพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง 
.
จนถึงปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ปลาหมอสีคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ ยังมีการลักลอบนำเข้ามาในไทยหรือไม่ เพราะมีเพียงรายเดียวที่นำเข้าและทำลายถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น เรื่องนี้ทางกรมประมงจึงต้องเป็นผู้พิสูจน์ความถูกต้อง
.
ผ่านมา 15 ปี มีคำถามไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องว่า ได้มีประกาศนโยบายอะไรเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่เป็นรูปธรรมหรือไม่ และเป้าหมายสุดท้ายของการแก้ปัญหาคืออะไร 
.
ปลาชนิดนี้ควรถูกกำจัดและควบคุมให้อยู่ในพื้นที่จำกัดให้ได้ สถานการณ์เร่งด่วนขณะนี้ ควรส่งเสริมให้จับเพื่อบริโภคและให้ความรู้ว่า ปลาชนิดนี้กินได้ มีคุณค่าทางอาหาร
.
ด้านนักวิชาการสัตว์น้ำ แนะนำว่า ควรศึกษาวงจรชีวิตของปลา เพื่อตัดวงจรปลาตั้งแต่ต้นทาง ที่สำคัญทุกขั้นตอนต้องดำเนินการต่อเนื่อง จะเป็นแนวทางในการกู้ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำได้รับการฟื้นฟู เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของระบบนิเวศ
.
อ้างอิงจาก : กรมประมง Bangkok Biznews.

ติดต่อโฆษณา!