11 สิงหาคม 2567
188
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน “ภูพระบาท” เป็นมรดกโลก
นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแล้วในการประชุมครั้งที่ 46 ที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย ระหว่าง 21 - 31 ก.ค. 67 ที่ผ่านมา
.
โดยยูเนสโกได้ประกาศในชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” (Phu Phrabat, atestimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)
.
ภูพระบาท ถือเป็นแหล่งมรดกโลกลำดับที่ 8 และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของจ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อพุทธศักราช 2535
.
โดยก่อนหน้านั้น แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกได้ประกาศแล้ว ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา, เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี, และเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้รับการประกาศในปี 2566 ที่ผ่านมา
.
โดยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรม สีมาหินสมัยทวารวดี และเป็นประจักษ์พยานที่ยอดเยี่ยมของการสืบทอดของวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องอย่างยาวนานกว่าสี่ศตวรรษ โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสี
.
นอกจากนี้ประเทศไทย ยังได้นําเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมขึ้นบัญชีเบื้องต้นแหล่งมรดกโลกที่รอการรสนับสนุน และผลักดันเข้าสู่บัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกอีกจำนวน 5 แหล่ง ได้แก่
.
1. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2555)
2. อนุสรณ์สถาน แหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงของล้านนา กลุ่มสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558)
3. พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560)
4. กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562)
5. สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567) โดยล่าสุดเพิ่งได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการมรดกโลกเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น ในการประชุมที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เช่นเดียวกัน
.
โดยยูเนสโกได้ประกาศในชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” (Phu Phrabat, atestimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)
.
ภูพระบาท ถือเป็นแหล่งมรดกโลกลำดับที่ 8 และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของจ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อพุทธศักราช 2535
.
โดยก่อนหน้านั้น แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกได้ประกาศแล้ว ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา, เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี, และเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้รับการประกาศในปี 2566 ที่ผ่านมา
.
โดยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรม สีมาหินสมัยทวารวดี และเป็นประจักษ์พยานที่ยอดเยี่ยมของการสืบทอดของวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องอย่างยาวนานกว่าสี่ศตวรรษ โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสี
.
นอกจากนี้ประเทศไทย ยังได้นําเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมขึ้นบัญชีเบื้องต้นแหล่งมรดกโลกที่รอการรสนับสนุน และผลักดันเข้าสู่บัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกอีกจำนวน 5 แหล่ง ได้แก่
.
1. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2555)
2. อนุสรณ์สถาน แหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงของล้านนา กลุ่มสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558)
3. พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560)
4. กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562)
5. สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา (ขึ้นบัญชีเบื้องต้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567) โดยล่าสุดเพิ่งได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการมรดกโลกเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น ในการประชุมที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เช่นเดียวกัน