11 สิงหาคม 2567
505
WHO ยกไทยเป็น 1 ใน 5 ของโลก ประเทศปลอดไขมันทรานส์
จากความสำเร็จในการกำจัดไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรมอาหาร โดยไทยได้ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ รวมถึงมีการตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
.
ล่าสุดองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ไทยเป็นประเทศปลอดไขมันทรานส์ ซึ่งทำให้ไทยกลายเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลก ที่ได้รับการรับรองนี้
.
จากรายงานของ WHO ระบุว่าตั้งแต่ปี 2562 มีจำนวน 40 ประเทศจากทั่วโลกที่มีนโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัด ‘ไขมันทรานส์’ เพิ่มขึ้นสามเท่าจากปีก่อนหน้า ซึ่งการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยปกป้องประชาชนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้มากถึง 1.4 พันล้านคน
.
ขณะที่ รายงานประจำปีฉบับที่สาม ‘Countdown to 2023: WHO report on global trans fat elimination 2021’ อัปเดตความก้าวหน้าของการดำเนินงานเพื่อกำจัดไขมันทรานส์ หรือ กรดไขมันทรานส์ (trans-fatty acids: TFA) ที่ผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมออกจากการผลิตอาหารให้ได้ภายในปี 2023 ระบุว่า
.
ปัจจุบัน มีการกำหนดใช้นโยบายกำจัดไขมันทรานส์ภาคบังคับ (mandatory) ใน 57 ประเทศที่มีประชากรรวมกัน 3.2 พันล้านคน โดยในจำนวนนี้มีทั้งหมด 40 ประเทศ ที่ได้รับการประเมินว่ามีนโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (best-practice policies) ครอบคลุมประชากร 1.4 พันล้านคน หรือ เท่ากับ 18% ของประชากรโลก
.
และเฉพาะในปีที่ผ่านมานี้ นโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมีผลบังคับใช้ในบราซิล เปรู สิงคโปร์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นถึงสามเท่าจากปี 2020
.
🚩 ไขมันทรานส์เกิดขึ้นได้อย่างไร
.
เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในน้ำมัน เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมันให้เป็นไขมันที่มีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว เช่น เนยเทียม เนยขาว ทำให้มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น
.
🚩 อาหารอะไรที่มีไขมันทรานส์สูง
.
ไขมันทรานส์จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารพบได้ในเค้ก คุกกี้ บิสกิต อาหารสำเร็จรูป น้ำมันประกอบอาหาร และสเปรดทาขนมปัง
.
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่ากรดไขมันทรานส์ให้ผลร้ายต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต 28% ความเสี่ยงในการเกิดโรค 21% สมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และโรค อื่นๆ และพบการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวสูงถึง 500,000 รายต่อปี
.
🚩 แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัดไขมันทรานส์
.
ดังนั้น อย.ร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินโครงการ “ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์” โดยหลังจากการออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย น้ำมันหรืออาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ไขมันทรานส์) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2562
.
การดำเนินงานที่จะถือได้ว่ามี นโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัดไขมันทรานส์ คือ การมีมาตรการทางกฎหมายหรือข้อบังคับการใช้กรดไขมันทรานส์ที่ผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมในการผลิตอาหารทุกรูปแบบ โดยแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมี 2 แนวทาง คือ
.
1. เพดานระดับชาติในการจำกัดปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมให้ไม่เกิน 2 กรัม ต่อไขมันรวม 100 กรัมในอาหารทุกชนิด
.
2. มาตรการบังคับเพื่อห้ามการผลิตหรือการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oils: PHO) เป็นส่วนประกอบในอาหารทุกชนิด
.
“ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์ ชัยชนะของทุกภาคส่วน ส่งไทยเป็นต้นแบบการพัฒนา สังคมสุขภาพดี ในทุกประเทศทั่วโลก”
.
อ้างอิง : WHO, Salika
.
ล่าสุดองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ไทยเป็นประเทศปลอดไขมันทรานส์ ซึ่งทำให้ไทยกลายเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลก ที่ได้รับการรับรองนี้
.
จากรายงานของ WHO ระบุว่าตั้งแต่ปี 2562 มีจำนวน 40 ประเทศจากทั่วโลกที่มีนโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัด ‘ไขมันทรานส์’ เพิ่มขึ้นสามเท่าจากปีก่อนหน้า ซึ่งการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยปกป้องประชาชนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้มากถึง 1.4 พันล้านคน
.
ขณะที่ รายงานประจำปีฉบับที่สาม ‘Countdown to 2023: WHO report on global trans fat elimination 2021’ อัปเดตความก้าวหน้าของการดำเนินงานเพื่อกำจัดไขมันทรานส์ หรือ กรดไขมันทรานส์ (trans-fatty acids: TFA) ที่ผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมออกจากการผลิตอาหารให้ได้ภายในปี 2023 ระบุว่า
.
ปัจจุบัน มีการกำหนดใช้นโยบายกำจัดไขมันทรานส์ภาคบังคับ (mandatory) ใน 57 ประเทศที่มีประชากรรวมกัน 3.2 พันล้านคน โดยในจำนวนนี้มีทั้งหมด 40 ประเทศ ที่ได้รับการประเมินว่ามีนโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (best-practice policies) ครอบคลุมประชากร 1.4 พันล้านคน หรือ เท่ากับ 18% ของประชากรโลก
.
และเฉพาะในปีที่ผ่านมานี้ นโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมีผลบังคับใช้ในบราซิล เปรู สิงคโปร์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นถึงสามเท่าจากปี 2020
.
🚩 ไขมันทรานส์เกิดขึ้นได้อย่างไร
.
เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในน้ำมัน เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมันให้เป็นไขมันที่มีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว เช่น เนยเทียม เนยขาว ทำให้มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น
.
🚩 อาหารอะไรที่มีไขมันทรานส์สูง
.
ไขมันทรานส์จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารพบได้ในเค้ก คุกกี้ บิสกิต อาหารสำเร็จรูป น้ำมันประกอบอาหาร และสเปรดทาขนมปัง
.
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่ากรดไขมันทรานส์ให้ผลร้ายต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต 28% ความเสี่ยงในการเกิดโรค 21% สมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และโรค อื่นๆ และพบการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวสูงถึง 500,000 รายต่อปี
.
🚩 แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัดไขมันทรานส์
.
ดังนั้น อย.ร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินโครงการ “ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์” โดยหลังจากการออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย น้ำมันหรืออาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ไขมันทรานส์) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2562
.
การดำเนินงานที่จะถือได้ว่ามี นโยบายแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัดไขมันทรานส์ คือ การมีมาตรการทางกฎหมายหรือข้อบังคับการใช้กรดไขมันทรานส์ที่ผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมในการผลิตอาหารทุกรูปแบบ โดยแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมี 2 แนวทาง คือ
.
1. เพดานระดับชาติในการจำกัดปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมให้ไม่เกิน 2 กรัม ต่อไขมันรวม 100 กรัมในอาหารทุกชนิด
.
2. มาตรการบังคับเพื่อห้ามการผลิตหรือการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oils: PHO) เป็นส่วนประกอบในอาหารทุกชนิด
.
“ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์ ชัยชนะของทุกภาคส่วน ส่งไทยเป็นต้นแบบการพัฒนา สังคมสุขภาพดี ในทุกประเทศทั่วโลก”
.
อ้างอิง : WHO, Salika