ส่องเทรนด์อายุเกษียณทั่วโลก ปรับใหม่รับสังคมสูงวัย

ส่องเทรนด์อายุเกษียณทั่วโลก ปรับใหม่รับสังคมสูงวัย

20240824-a-01.jpg

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย หนึ่งในปัญหาที่เราจะเจอคือการขาดแคลนแรงงาน คนหนุ่มสาวในวัยทำงานมีจำนวนลดลง จากค่านิยมเกี่ยวกับการแต่งงานและมีบุตรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและภาวะเศรษฐกิจ

ในส่วนบริบทของประเทศไทย ณ ตอนนี้ การเกษียนอายุยังคงอยู่ที่อายุ 60 ปี แต่ก็ยังคงเป็นคำถามกันว่า "อายุเกษียณ 60 ปี ยังพอเพียงอยู่ไหม? มาดูกันว่าประเทศไทยกำลังพิจารณาปรับอายุเกษียณหรือไม่ และจะส่งผลต่อเราอย่างไรบ้าง"​
.
จากบทความเรื่อง “จะเป็นอย่างไรหากสังคมไทยตายมากกว่าเกิดไปเรื่อย ๆ” ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ด้วยผลการคาดการณ์ประชากรที่ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่วิกฤตสังคมผู้สูงอายุ อย่างเลี่ยงไม่ได้​
.
​🚩 4 สถานการณ์ที่ต้องเร่งทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมรับมือ​
.
 1. ประชากรลดลงอย่างมาก​
มีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2626 (60 ปีข้างหน้า) ประชากรไทยจะลดลงเหลือเพียง 33 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าปัจจุบันมาก​
.
​ 2. วัยแรงงานหายไป​
จากข้อมูลบอกว่าในปี พ.ศ. 2626 (60 ปีข้างหน้า) ประชากรวัยแรงงานที่มีอายุระหว่าง 15-64 ปี จะลดลงเหลือเพียง 14 ล้านคน ทำให้กำลังผลิตของประเทศลดลง​
.
​ 3. เด็กน้อยลง​
จำนวนเด็กวัย 0-14 ปี จะเหลือเพียง 1 ล้านคนในปี พ.ศ. 2626 (60 ปีข้างหน้า) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของประเทศในระยะยาว​
.
 4. ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว​
ในอนาคตประเทศไทยจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปถึง 18 ล้านคนนับว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาก และสัดส่วนของผู้สูงอายุจะมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด
.
นอกจากนี้ข้อมูลจาก Black Rock ยังส่งสัญญาณที่นับว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับใครที่กำลังฝันถึงชีวิตหลังเกษียณอย่างสบายใจ จาก CEO-ลาร์รี ฟิงค์ ว่า  “การเกษียณอายุในอนาคตอาจไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน” และต้องเริ่มเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เนิ่นๆ​
.
ในเมื่อวัยแรงงานลดลง และผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จึงทำให้ต้องมีการขยายอายุเกษียณอย่างเลี่ยงไม่ได้ ​
.
🚩 แต่ละประเทศมีการปรับอายุเกษียณเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ มาดูผลสำรวจกันเลย
.
👉 ​การวางแผนเกษียณถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ “ไม่รีบ แต่สำคัญกับชีวิตมาก”​ เพราะเป็นแผนที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตในช่วงบั้นปลายที่เราจะไม่มีรายได้​
ดังนั้นการวางแผนที่ดีจะช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ​ หมดกังวลเรื่องเงิน และทำสิ่งที่ต้องการได้อย่างเต็มที่​
.
ที่มา: KKP, EDGE
https://www.chula.ac.th/news/124866
https://www.bbc.com/worklife/article/20240404-global-retirement-increase-65-to-75​
https://www.investopedia.com/terms/n/normal-retirement-age-nra.asp​

ติดต่อโฆษณา!