หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี รายได้เพิ่มไม่ทันรายจ่าย !

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี รายได้เพิ่มไม่ทันรายจ่าย ! ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจครอบครัวไทยปี 2567 จากการสำรวจ “สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ปี 2567” จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วประเทศ 1,300 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 1-7 ก.ย.67 
พบปัญหาคนสินหนี้สินพุ่ง ในรอบ 15 ปี ปัญหาใหญ่ระเบิดเวลาที่ต้องจับตา ปัญหาท้าทายที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ ไปดูที่มาที่ไปของเรื่องนี้กัน
.
1.ครัวเรือนไทยมีภาระหนี้สินเฉลี่ย 606,378 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.4% และเพิ่มสูงสุดตั้งแต่มีการสำรวจในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 โดยในจำนวนนี้ เป็นหนี้นอกระบบ 69.9% และอีก 30.1% เป็นหนี้นอกระบบ
.
2. การเก็บออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 48.1% ไม่เคยเก็บออม ส่วนกลุ่มตัวอย่าง 22.6% ระบุว่ามีเงินเก็บเพียงพอเป็นสำหรับค่าใช้จ่าย 6 เดือนขึ้นไป ส่วนอีก 16% ระบุว่ามีเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน และที่เหลือ 13.3% ระบุว่า มี แต่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 3 เดือน
.
3.  เมื่อให้เปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในปัจจุบัน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 46.3% มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่ารายจ่าย รองลงมา กลุ่มตัวอย่าง 35% มีรายได้ครัวเรือนเท่ากับรายจ่าย และกลุ่มตัวอย่างอีก 18.7% มีรายได้ครัวเรือนมากกว่ารายจ่าย
.
4. เมื่อถามถึงการแก้ปัญหา กรณีเกิดรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในปัจจุบัน พบว่า อันดับ 1 จะใช้วิธีกู้ยืมจากแหล่งต่าง ๆ อันดับ 2 ประหยัด/ลดค่าใช้จ่าย อันดับ 3 ดึงเงินออมออกมาใช้ และอันดับ 4 หารายได้เพิ่ม
.
5. เมื่อรายได้ไม่พอ จะใช้วิธีกู้ยืม กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้วิธีการกดเงินสดจากบัตรเครดิตมากที่สุด รองลงมา คือ การกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจ การจำนำสินทรัพย์ กู้สหกรณ์ และยืมจากญาติ
.
6. เมื่อเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ในปี 67 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 46.4% ตอบว่าหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้เพิ่ม รองลงมา 32.3% หนี้เพิ่มเท่ากับรายได้เพิ่ม และอีก 21.3% ระบุว่า หนี้เพิ่มน้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด หรือ 99.7% ตอบว่าครัวเรือนของตัวเองมีหนี้สิน โดยมีเพียง 0.3% เท่านั้นที่ไม่มีหนี้สิน
.
7. ประเภทหนี้ อันดับ 1 คือ หนี้บัตรเครดิต รองลงมา หนี้ยานพาหนะ, หนี้ส่วนบุคคล, หนี้ที่อยู่อาศัย, หนี้ประกอบธุรกิจ และหนี้การศึกษา
.
8. ขณะที่การก่อหนี้ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 89.9% มีเฉพาะหนี้ในระบบ รองลงมา 39.8% มีทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ และอีก 0.3% มีเฉพาะหนี้นอกระบบ 
.
9.โดยจำนวนหนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ยที่ 606,378 บาท มากสุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่มีการสำรวจในปี 52 โดยหนี้ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.4% แยกเป็นหนี้ในระบบ 69.9% และหนี้นอกระบบ 30.1% ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
.
10. สาเหตุที่ทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก คือ 1.รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 2.มีเหตุไม่คาดคิดที่ต้องใช้เงินฉุกเฉิน 3.ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น 4.ภาระทางการเงินของครอบครัวสูงขึ้น 5.ล้มเหลวจากการลงทุน 6.ลงทุนประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น 7.ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 8.ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น 9.ค่าเล่าเรียนของบุตร-หลาน และ 10.ขาดรายได้ เนื่องจากถูกออกจากงาน
.
11. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 71.6% ระบุว่า เคยขาดผ่อนหรือผิดนัดชำระหนี้ มีเพียง 28.4% ที่ตอบว่าไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้มากสุด คือ เศรษฐกิจไม่ดี รองลงมา คือ รายได้ลดลง, สภาพคล่องของครัวเรือนลดลง, ราคาพืชผลเกษตรลดลง, ค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้ และไม่มีแหล่งให้กู้ยืมเงินเพิ่ม เป็นต้น
.
12 ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยระดับหนี้ครัวเรือนของไทย ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ระดับ 90.8% ของ GDP โดยหนี้ครัวเรือนปรับลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย (ไตรมาส 4/66 อยู่ที่ 91.4% ของ GDP) จากสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวชะลอลง ซึ่งในจำนวนหนี้ครัวเรือน ไตรมาส 1/67 เป็นสัดส่วนของสินเชื่อบ้าน 34% สินเชื่อส่วนบุคคล 25% สินเชื่อเช่าซื้อ 11% สินเชื่ออื่นๆ 9% และสินเชื่อบัตรเครดิต 3%
.
13. นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หนี้สินครัวเรือน เป็นเรื่องสำคัญและเป็นปัญหาที่สะสมมาต่อเนื่องยาวนาน โดยนับตั้งแต่ปี 56 ระดับหนี้ครัวเรือนเริ่มสูงเกินกว่า 80% ของ GDP โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 90% ของ GDP นับตั้งแต่ปี 63
.
14. หนี้ครัวเรือนสูง อาจไม่ใช่จำเลยสังคม แนะรัฐชำแหละไส้ใน แก้ไขปัญหาหนี้ในระบบนอกระบบ มาตรการแจกเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางอย่างตรงจุด เพื่อบรรเทาปัญหา
20240911-b-01.jpg
ติดต่อโฆษณา!