29 กันยายน 2567
642
นักวิชาการเปิดข้อมูลน้ำท่วมใหญ่ภาคเหนือ เกิดขึ้นเพราะอะไร?
ปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือ กลายเป็นวิกฤตและสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซ้ำเติมปัญหาให้กับประชาชนมากขึ้น จนรัฐบาลเองต้องพักการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหันมาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประชาชนกันก่อน
.
นางสิตางศุ์ พิลัยหล้า ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือปีนี้ มีความหนักหน่วงไม่ต่างจากน้ำท่วมภาคกลางในปี 54 แม้น้ำจะมาเร็วไปเร็ว แต่สร้างความเสียหายมาก
.
ต่อให้ปริมาณน้ำปีนี้จะน้อยกว่าปี 54 แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากกว่าปี 54 เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปหลายปัจจัย เหตุจากการกระทำของมนุษย์
.
▪️ เปิดสาเหตุหลักปัญหาน้ำท่วมใหญ่ทางภาคเหนือ
.
สรุปได้ว่า สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ปล่อยมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์ ล้วนส่งผลทำให้ปริมาณฝนผิดปกติ ซึ่งถ้าปีใดฝนตกมากกว่าปกติ ก็จะเกิดน้ำท่วมหนักมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากปีใดฝนน้อยกว่าปกติ ก็จะแห้งแล้งหนักมากเช่นกัน
.
สำหรับการบริหารจัดการน้ำ มีทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤติ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการทั้งด้าน Supply Side และ Demand Side โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะ Regulator ด้านน้ำของประเทศ ต้องผลักดันให้เกิดกลไกจัดการน้ำในภาวะวิกฤติแบบ Single Command ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561 ให้เกิดขึ้นให้ได้
.
อย่างไรก็ดี ภายใต้การผันแปรและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีปัจจัยความไม่แน่นอนมากมาย ซึ่งทุกพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยธรรมชาติได้ และขณะนี้ก็ยังยากต่อการคาดการณ์ได้ ดังนั้น การจะลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น คือต้องมี “กลไกแจ้งเตือนภัยอย่างเป็นระบบ”
.
“ตอนนี้ ความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปคนละทิศละทาง ของบางอย่างไปกระจุกตัวอย่างบางจุด ในขณะที่บางจุดไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้น จำเป็นต้องมี Single Command ทำงานเป็นระบบระเบียบ เช่นเดียวกับสถานการณ์ทีมหมูป่าติดถ้ำ เป็นต้น” นางสิตางศุ์ กล่าว
.
นางสิตางศุ์ พิลัยหล้า ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือปีนี้ มีความหนักหน่วงไม่ต่างจากน้ำท่วมภาคกลางในปี 54 แม้น้ำจะมาเร็วไปเร็ว แต่สร้างความเสียหายมาก
.
ต่อให้ปริมาณน้ำปีนี้จะน้อยกว่าปี 54 แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากกว่าปี 54 เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปหลายปัจจัย เหตุจากการกระทำของมนุษย์
.
▪️ เปิดสาเหตุหลักปัญหาน้ำท่วมใหญ่ทางภาคเหนือ
.
1.น้ำท่วมปีนี้ส่วนใหญ่เป็นดินโคลนถล่ม ซึ่งน้ำที่ท่วมปีนี้มาจากการกัดเซาะหน้าดิน เนื่องจากปริมาณป่าไม้ที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี
.
2. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
.
3. การรุกล้ำลำน้ำ ทำให้ทางน้ำแคบลง ทั้งการสร้างแพ โรงแรมต่าง ๆ
.
4. โครงสร้างทางชลศาสตร์ที่อาจทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น คันกั้นน้ำที่กักเก็บมวลน้ำ ซึ่งทำให้น้ำมีโมเมนตัมมากขึ้น และเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ และแตก ก็จะสร้างความเสียหายรุนแรงได้
.สรุปได้ว่า สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ปล่อยมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์ ล้วนส่งผลทำให้ปริมาณฝนผิดปกติ ซึ่งถ้าปีใดฝนตกมากกว่าปกติ ก็จะเกิดน้ำท่วมหนักมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากปีใดฝนน้อยกว่าปกติ ก็จะแห้งแล้งหนักมากเช่นกัน
.
สำหรับการบริหารจัดการน้ำ มีทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤติ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการทั้งด้าน Supply Side และ Demand Side โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะ Regulator ด้านน้ำของประเทศ ต้องผลักดันให้เกิดกลไกจัดการน้ำในภาวะวิกฤติแบบ Single Command ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561 ให้เกิดขึ้นให้ได้
.
อย่างไรก็ดี ภายใต้การผันแปรและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีปัจจัยความไม่แน่นอนมากมาย ซึ่งทุกพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยธรรมชาติได้ และขณะนี้ก็ยังยากต่อการคาดการณ์ได้ ดังนั้น การจะลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น คือต้องมี “กลไกแจ้งเตือนภัยอย่างเป็นระบบ”
.
“ตอนนี้ ความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปคนละทิศละทาง ของบางอย่างไปกระจุกตัวอย่างบางจุด ในขณะที่บางจุดไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้น จำเป็นต้องมี Single Command ทำงานเป็นระบบระเบียบ เช่นเดียวกับสถานการณ์ทีมหมูป่าติดถ้ำ เป็นต้น” นางสิตางศุ์ กล่าว