สั่งเคอร์ฟิว กทม. และ 9 จังหวัด เริ่มจันทร์ที่ 12 ก.ค. นี้

สั่งเคอร์ฟิว กทม. และ 9 จังหวัด เริ่มจันทร์ที่ 12 ก.ค. นี้

วันนี้ (9 ก.ค. 64) แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม มีมติขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เป็นคราวที่ 13 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564

นอกจากนี้ ยังได้เคาะการยกระดับมาตรการป้องกันโรคติดต่อโควิด-19 ด้วยการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้

20210709-a-01.jpg


พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด (คงเดิม)

กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา

 

พื้นที่ควบคุมสูงสุด 24 จังหวัด (เพิ่มขึ้น19 จังหวัด)

กระบี่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตาก นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี

 

พื้นที่ควบคุม 25 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 16 จังหวัด)

กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตราด บุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สตูล สระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี

 

พื้นที่เฝ้าระวังสูง 18 จังหวัด (ลดลง 39 จังหวัด)

เชียงราย เชียงใหม่ นครพนม น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ลำปาง ลำพูน สกลนคร หนองคาย อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์

 

“ล็อกดาวน์” กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีผลจันทร์ที่ 12 ก.ค. เป็นต้นไป

(หลังเที่ยงคืนของวันอาทิตย์ที่ 11 ก.ค. 64)

แพทย์หญิงอภิสมัย กล่าวว่า ศบค. มีมติจำกัดการเคลื่อนย้าย และดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด หรือที่ประชาชนทั่วไปคุ้นเคยกับคำว่า “ล็อกดาวน์” ซึ่งมาตรการนี้จะมีผลดำเนินการเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร)

  1. กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะ Work From Home

    ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน

  1. ระบบขนส่งสาธารณะ ปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
  2. ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิดเวลา 20.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
  3. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

    ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร

    รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน ทั้งนี้ เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.

  1. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.

    (ห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน)

  1. ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม
  2. สวนสาธารณะ สามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกาย ได้ถึงเวลา 20.00 น.
  3. ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนา

    หรือกิจกรรมตามประเพณี ที่มีการรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

 

“เคอร์ฟิว” กทม. และอีก 9 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม เริ่มมีผล 12 ก.ค. เป็นต้นไป

ห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็น และห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี มีผลตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป แต่ขณะเดียวกัน ให้หน่วยงานด้านความมั่นคง จัดตั้งจุดตรวจสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด ด้วยการให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2534 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืน ให้บังคับใช้บทลงโทษตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

 

มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล

  1. เร่งรัดให้มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการตรวจหาเชื้ออย่างเพียงพอ
  2. กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดนำระบบ

    การแยกกักแบบการแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักในชุมชน (Community Isolation)   

    รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร เป็นต้น มาเสริมเพิ่มมาตรการ   

    รักษาพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนการขาดแคลนเตียง พยาบาล ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

  1. เร่งรัดจัดตั้ง ICU สนาม และโรงพยาบาลสนาม รวมถึง โรงพยาบาลสนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีด

    ความสามารถในการรักษาพยาบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และมีจำนวนมากพอ

 

การปรับแผนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง

  1. ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 75 เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นป
  2. ระดมสรรพกำลังฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง
  3. ตั้งเป้าฉีดวัคซีน ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1 ล้านคน ภายใน 1-2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความ

    ครอบคลุมวัคซีนกลุ่มนี้เป็น 85%

  1. สำรองวัคซีนบางส่วน เพื่อใช้ควบคุมการระบาดใน กทม. และจังหวัดปริมณฑล (กลยุทธ์ขนมครก)

 

แหล่งที่มา :

https://www.facebook.com/informationcovid19/videos/132268602373060

 

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว
ติดต่อโฆษณา!