ธรรมดาโลกไม่จำ “ตูวาลู” แสดงสุนทรพจน์เวที COP26 กลางทะเล
Highlight
นายไซมอน โคเฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตูวาลู ถ่ายคลิปแสดงสุนทรพจน์เวที 26 กลางน้ำทะเลลึกระดับเข่า เพื่อชี้ให้เห็นว่าประเทศของตนซึ่งเป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยิ่ง ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอาจกลืนแผ่นดินหายไปเร็วขึ้นในวันข้างหน้า จึงเรียกร้องทุกประเทศ ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ภาพของเขาถูกแชร์ไปในโชเชียลมีเดียทั่วโลก
ภาพนายไซมอน โคเฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตูวาลู ใส่สูทผูกไท ถลกขากางเกงยืนอยู่หลังแท่นปราศรัยในน้ำทะเลลึกระดับเข่าถูกแชร์ว่อนโซเชียลมีเดีย
โดยคลิปวิดีโอนี้เรียกความสนใจผู้ชมให้ทราบว่า ตูวาลูกำลังต่อสู้กับภาวะน้ำทะเลเพิ่มสูง รัฐมนตรีรายนี้กำลังถ่ายทำวิดีโอแถลงสุนทรพจน์ต่อเวทีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC COP26) ระบุดังนี้
“คำปราศรัยนี้ต้องการเปรียบเทียบการประชุม COP26 กับสถานการณ์ในชีวิตจริงในตูวาลูที่ต้องได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และเน้นย้ำถึงการกระทำอันหนักแน่นของตูวาลูแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในการย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” นายโคเฟกล่าว
คลิปนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ทีวีบีซีที่ปลายสุดของเกาะฟอนกาเฟล เกาะหลักของเมืองหลวงฟูนาฟูติ มีกำหนดเผยแพร่ในเวที COP26 วันอังคาร (9 พ.ย.) นี้ หลังจากผู้นำในภูมิภาคหลายคนผลักดันการควบคุมโลกร้อนให้มากยิ่งขึ้น ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเหลือศูนย์ภายในปี 2593 แต่ผู้นำประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกเรียกร้องให้ดำเนินการทันที โดยชี้ว่าประเทศเกาะอย่างพวกตนเสี่ยงมาก
มาถึงขนาดนี้แล้ว มาทำความรู้จัก “ตูวาลู” ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย
ตูวาลู (Tuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก “ตูวาลู” แปลว่า กลุ่มทั้งแปด ซึ่งหมายถึง ประเทศหมู่เกาะที่มีประเพณีที่หลากหลาย ถึง ๘ ประเพณีด้วยกัน
ที่ตั้ง : ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียประมาณ ๔,๐๐๐ กิโลเมตร อยู่กึ่งกลางระหว่างออสเตรเลียกับ เกาะฮาวาย
พื้นที่ : ๒๖ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก ๙ เกาะ มีเขตเศรษฐกิจจ าเพาะ ๗๕๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง : กรุงฟูนาฟูตี (Funafuti)
สกุลเงิน : ตูวาลวน (Tuvaluan) และดอลลาร์ออสเตรเลีย
จานวนประชากร : ๑๐.๙๕๖ คน (ค่าประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
เชื้อชาติ : โพลีเนเชีย ๙๖% ไมโครนีเชีย ๔%
ศาสนา : คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ๙๘.๔ % Baha'i ๑% อื่นๆ ๐.๖ %
ภาษาที่ใช้ทางการ : ตูวาลวน (Tuvaluan) และ อังกฤษ
สภาพภูมิประเทศ : พื้นที่ต่าและเป็นเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน อุณหภูมิปานกลางเนื่องจากมีลมสินค้าตะวันออกพัดในช่วงเดือน มีนาคม – พฤศจิกายน ช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม จะมีลมพัดแรงจากทิศตะวันตก ทาให้มีฝนตกหนัก ทรัพยากรธรรมชาติ : สัตว์น้ำ ประเทศตูวาลูจะมี นกกีวี อยู่เป็นจำนวนมาก และมีพืชพันธ์ไม่ป่าเขตร้อน
เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง
สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv
การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขรวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาเป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาลมีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
ตูวาลู ประเทศ ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างออสเตรเลียและฮาวาย มันเป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีวิวสวย ๆ ของชายหาด มีปะการังสวยงาม และน้ำทะเลสะอาดเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนที่แห่งนี้ ควรเดินทางมาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศแปรปรวนต่างๆ น่าจะเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ท่ามกลางธรรมชาติอันสวยงาม
ที่มา : Reuters, Wikipedia, Bangkokbiz