12 กุมภาพันธ์ 2567
394

“Always On” สิทธิ์ที่แรงงานทั่วโลกควร “ปฏิเสธ” ได้

“Always On” สิทธิ์ที่แรงงานทั่วโลกควร “ปฏิเสธ” ได้

ในยุค 5G การสื่อสารสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผู้คนสามารถติดต่อกันได้จากทั่วทุกมุมโลก สถานะการ Online เกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกเหนือจากการติดต่อสื่อสารเรื่องส่วนตัวแล้ว เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ก็ถูกนำมาใช้ในการทำงานด้วยเช่นกัน และบ่อยครั้งก็ถูกนำมาใช้ในสื่อสารนอกเวลางานด้วย


ปัญหาการติดต่อสื่อสารนอกเวลางาน … ถ้าเป็นการสื่อสารข้อความเล็กน้อยหรือเป็นการแจ้งเรื่องทั่วไปที่ไม่สำคัญมากก็เป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจและรับได้


แต่ถ้าเป็นการสั่งงานสำคัญหรืองานเร่งด่วนนอกเวลางาน คำถามต่อมาคือ … คุณจำเป็นที่จะต้องตอบหรือจะต้องทำงานที่ถูกสั่งนอกเวลางานหรือไม่ ? การปิดเครื่องมือสื่อสารเพื่อ Disconnect จากการทำงานผิดหรือเปล่า ? เชื่อว่าหลายคนคงจะสงสัยเช่นกัน


จริง ๆ แล้ว สถานการณ์ในปัจจุบันตามหลัก "private employees disconnecting from electronic communications during non - work hours"  กำลังแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ อย่างในสหภาพยุโรปได้พูดถึง “สิทธิ์ในการปิด” หรือที่เรียกว่า "สิทธิ์ในการตัดการเชื่อมต่อ" 


สิทธิ์นี้อนุญาตให้ลูกจ้างสามารถ “ตัดการเชื่อมต่อ” จากการทำงานและ การไม่สื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น อีเมล หรือข้อความอื่น ๆ นอกเวลางาน


ในประเทศที่พัฒนาแล้วมี  “กฎหมายแรงงาน” คุ้มครองแรงงานและลดข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง โดยกำหนดไว้ว่า ห้ามนายจ้าง “ติดต่อเรื่องงาน” นอกเวลางานกับลูกจ้างไม่เช่นนั้นคือผิดกฏหมาย 


อย่างเช่นที่ ฝรั่งเศส ก็เป็นประเทศแรก ๆ ที่มีการออกกฎหมายให้สิทธิ์พนักงานสามารถปิดอุปกรณ์สื่อสารนอกเวลางานได้และฝั่งเจ้านายก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะติดต่อพนักงานด้วย เคยมีคดีฟ้องร้องระหว่างลูกจ้างและนายจ้างเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว  ศาลมีการตัดสินว่าฝั่งนายจ้างมีความผิดต้องชดเชยค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างเป็นเงินสูงถึง 2 ล้านบาท


แต่เคสแบบนี้นายจ้างและลูกจ้างอาจทำข้อตกลงยกเว้นเรื่องดังกล่าวได้ หากการทำงานอาจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อกับลูกจ้างนอกเวลางานหรือเป็นงานที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลา แต่สิ่งสำคัญคือก็อาจจะต้องกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนทั้งสองฝ่าย


ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ์นี้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่นที่ สเปน มีกฏหมายระบุชัดเจนว่าลูกจ้างมีสิทธิ์เพิกเฉย เมื่อโดนสั่งงานนอกเวลางานและประชุมได้แค่ในเวลางานเท่านั้น ขณที่ใน อิตาลี ก็มีกฎหมายระบุว่าองค์กรจะต้องมีมาตรการให้พนักงานทุกคนตัดขาดการทำงานนอกเวลางานได้ เช่น ห้ามไม่ให้พนักงานพูดคุยเรื่องงานนอกเวลางานหรือไม่อนุญาตให้พนักงานเข้าถึงอีเมลล์นอกเวลางาน ส่วนที่ โปรตุเกส ล่าสุดก็มีกฎหมายคุ้มครองในกรณีที่นายจ้างติดต่อลูกจ้างนอกเวลางานจะมีโทษตามที่กฏหมายกำหนด และหากมีการให้พนักงาน Work From Home นายจ้างจะต้องช่วยออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าไฟ, ค่าน้ำ และค่าอินเตอร์เน็ตให้กับลูกจ้างด้วย


การติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วครอบคลุม 24 ชั่วโมง ก็ทำให้การทำงานและใช้ชีวิตง่ายขึ้น  แต่การติดต่อสื่อสารในเวลาที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะเกิดผลเสียได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น Work Life Balance จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตการทำงานยุคใหม่

 

ติดต่อโฆษณา!