16 กันยายน 2564
1,963

ทำไมปัญหาเรื่อง Climate Change ถึงน่ากลัวไม่แพ้ เรื่องโรคระบาด ?

ทำไมปัญหาเรื่อง Climate Change ถึงน่ากลัวไม่แพ้ เรื่องโรคระบาด ?
Highlight

Climate Change” หรือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ส่งผลกระทบมากขึ้นกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโลกในปัจจุบัน เพราะมักปรากฎเหตุการณ์อุบัติภัยเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ล่าสุดธนาคารโลกได้เตือนว่า ปัญหาภาวะอากาศปรวนแปรอาจทำให้ประชาชนราว 216 ล้านคนใน 6 ภูมิภาคของโลกต้องถูกผลักออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยของตนภายใน 30 ปีข้างหน้า เหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น

•เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ เยอรมนี เบลเยียม ยุโรป และหลายมณฑลใน จีน
•ไฟป่าที่ออสเตรเลีย และแคลิฟอเนียร์
•พายุต่างๆ ที่ทวีรุนแรงมากขึ้น
•ภาวะ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย


นอกจากเรื่องโรคระบาดโควิด 19 ที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของคนทั่วโลกตอนนี้ อีกหนึ่งเรื่องที่กระทบคนทั่วโลกเหมือนกัน คือเรื่อง “Climate Change” หรือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก็ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโลกในเวลานี้ไม่น้อย
 
ผลกระทบจาก Climate Change ยังส่งผลกระทบไปถึงใครที่เป็นคอกาแฟอีกด้วย เพราะหลายเดือนที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในแถบบราซิล กำลังทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งเกาะบริเวณต้นและใบของต้นกาแฟ
 
ส่งผลให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟจากบราซิล ซึ่งเป็นปริมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณการผลิตทั้งโลกกำลังลดลง และดันให้ราคาเมล็ดกาแฟทั่วโลกสูงขึ้นในตอนนี้ และอาจจะกระทบกับราคากาแฟที่เราซื้อดื่มกันในอนาคตอันใกล้นี้ ก็เป็นได้..
 
หากอ้างอิงจากหนังสือ How to Avoid a Climate Disaster พบว่า มนุษย์เราทุกวันนี้ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน และไนตรัสออกไซด์) สู่ชั้นบรรยากาศ ปีละราว ๆ 52,000 ล้านตัน
 
แล้วการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยปริมาณเท่านี้ไปเรื่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรต่อโลกเราต่อไป ?
 
ข้อมูลจาก Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ที่ดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีการคาดการณ์ว่า
 
หากเรายังคงเพิ่มก๊าซเรือนกระจก (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน และไนตรัสออกไซด์) ในอัตราเท่านี้ไปเรื่อย ๆ อุณหภูมิของโลกเราจะเพิ่มขึ้น 1.5-3 องศาเซลเซียส ในช่วงกลางศตวรรษนี้ และเพิ่มขึ้น 4-8 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษ
 
ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทวีความรุนแรง และอาจเกิดบ่อยขึ้น ซึ่งจะตามมาด้วยผลกระทบต่อมนุษย์และโลกของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
ทั้งหมดนี้ จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change กำลังอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด และเรื่องนี้ก็กำลังเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างติดตาม ไม่แพ้เรื่องโรคระบาดเลย
 
หลายประเทศใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือแม้กระทั่งจีนเอง ก็เริ่มเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มากขึ้นทุกที ทั้งส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมที่จะมารับมือกับเรื่องนี้
 
ธนาคารโลกเผยแพร่รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ที่เตือนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งทำให้เกิดปัญหาภาวะอากาศปรวนแปรอาจทำให้ประชาชนราว 216 ล้านคนใน 6 ภูมิภาคของโลกต้องถูกผลักออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยของตนภายใน 30 ปีข้างหน้า รวมทั้งยังอาจทำให้เกิด “hotspots” หรือพื้นที่ซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านประชากรจากเรื่องนี้ขึ้นหลายแห่งในอีก 9 ปีต่อจากนี้หากไม่มีมาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
 
รายงานซึ่งธนาคารโลกตั้งชื่อว่า “Groundswell Part 2” นี้ ศึกษาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนซึ่งจะส่งผลผลักดันการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรภายในประเทศจากสาเหตุด้านภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ผลผลิตด้านการเกษตรที่ล้มเหลว รวมทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวนอื่นๆ ต่อจากรายงานฉบับแรกเมื่อสามปีที่แล้ว
 
ในครั้งนี้ธนาคารโลกศึกษาผลกระทบของปัญหาโลกร้อนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันออก และเอเชียกลางโดยเฉพาะ และให้ตัวเลขว่าภายในปีค.ศ. 2050 หรืออีกราว 30 ปีต่อจากนี้พื้นที่บริเวณใต้ทะเลทรายซาฮาร่าของทวีปแอฟริกาจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จะมีประชากรถึงราว 86 ล้านคนที่ถูกผลักออกจากถิ่นที่อยู่ของตน ตามมาด้วยภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ 49 ล้านคนและเอเชียใต้ 40 ล้านคน เป็นต้น
 
ธนาคารโลกเตือนด้วยว่า เพื่อชะลอปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของปัญหาและเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่างๆ ควรต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและจัดทำนโยบายที่เหมาะสมเพื่อเตรียม รับมือกับปัญหาเหล่านี้ล่วงหน้า

ที่มา : บลจ. กรุงไทย (KTAM), VOA Thai
ติดต่อโฆษณา!