01 ตุลาคม 2564
1,458

วัคซีน mRNA ของจุฬาฯ ผ่านทดลองในคนเฟส 2 แล้ว ภูมิขึ้นสูง ป้องกันเชื้อเดลต้าได้ดี และพร้อมผลิต อยู่ระหว่างหารือกับ อย.

วัคซีน mRNA ของจุฬาฯ ผ่านทดลองในคนเฟส 2 แล้ว ภูมิขึ้นสูง ป้องกันเชื้อเดลต้าได้ดี และพร้อมผลิต อยู่ระหว่างหารือกับ อย.
Highlight

วัคซีน mRNA สัญชาติไทย พัฒนาโดย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการทดลองในมนุษย์ ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเดลต้า แกมม่า เบต้า ได้ศูนย์วิจัยฯ รอหารือกับสำนักงาน อย. ว่าจะไปต่ออย่างไร ส่วนไบโอเนท-เอเชียก็พร้อมเริ่มผลิตล็อตวัคซีนได้ คาดว่าจะผลิตล็อตรีลิสต์ เร็วสุดช่วงต้น ธ.ค.นี้


นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของวัคซีนชนิด mRNA ภายใต้การดูแลของจุฬาฯ ปัจจุบันผ่านการทดลองสัตว์แล้ว เบื้องต้นการกระตุ้นภูมิในหนูพบค่า titer สูง สะท้อนประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ได้ดี ขณะที่ในลิงได้ค่าสูงราว 5,000 titer

ส่วนการทดลองในมนุษย์อยู่ระหว่างระยะที่ 1 และเข้าสู่ระยะที่ 2 แล้ว ควบคู่กับการทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร พร้อม ๆ กับเตรียมโรงงานในไทย คือ ไบโอเนท เอเชีย พันธมิตรของจุฬาฯ และได้มีการทำวัคซีนคู่ขนาน 2 รุ่น ป้องกันรุ่นแรกป้องกันโควิดข้ามสายพันธุ์ไม่ได้

เบื้องต้นการทดลองในหนูที่ฉีดวัคซีนเทียบกับหนูที่ไม่ฉีดวัคซีน พบว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนแม้ได้ปริมาณต่ำ แต่สามารถป้องกันการเจ็บป่วย และป้องกันไม่ให้เชื้อเข้ากระแสเลือดได้ 100% และลดปริมาณเชื้อที่ใส่ในจมูกและปอดลงได้มากกว่า 10 ล้านเท่า ส่วนประเด็นภูมิจะตกเมื่อไรนั้น จากการทดลองในลิง จะอยู่ได้ราว 8 เดือนขึ้นไป ขณะที่เชื้ออู่ฮั่นภูมิจะอยู่ได้เกินปี”

สำหรับด้านประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเดลต้า แกมม่า เบต้า นพ.เกียรติ กล่าวว่า ผลจากห้องปฏิบัติการของ สวทช. ที่ใช้เลือดของหนูและลิงที่ฉีดวัคซีนมาทำการทดลองพบว่า ภูมิคุ้มกันขึ้นสูง โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้าป้องกันได้ดี ยิ่งใช้โดสสูง แม้ภูมิคุ้มกันตกก็ยังสูง ป้องกันได้หมด

นอกจากนี้ การวิจัยในอาสาสมัครที่เริ่มกลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยจากการทดลองเฟส 1และ 2 กลุ่มอายุ 18-55 ปี ยังไม่เจอผลข้างเคียงรุนแรง ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยและดีขึ้นภายใน 1-2 วัน มักพบอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย โดยเฉพาะเข็ม 2 แต่ผลยังอยู่ในวงจำกัด เพราะกลุ่มอาสาสมัครยังไม่มากนัก

ทั้งนี้ ผลรายบุคคล 10 กว่าท่านนั้น หากฉีดโดสสูง 50 ไมโครกรัม ตัวเลขขึ้นสูง 1 อาทิตย์หลังเข็ม 2 ซึ่งเต็มที่คือ 100% โดยตัวเลขสูงถึง 94% ส่วนการจับกับโปรตีนอยู่ที่ 2,500 ไตเตอร์ หากให้โดสต่ำกว่าจะขึ้นสูงใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะขึ้นสูง

“อย่างไรก็ตาม ในเฟส 1 เราผ่านกลุ่มอายุ 18-55 ปีแล้ว ส่วนเฟส 1 อายุมาก 56-75 ปี นั้นฉีดครบ 2 เข็มแล้ว และอาทิตย์นี้จะครบ 1 อาทิตย์หลังเข็ม 2 ส่วนเฟส 2 อายุ 18-59 ปี ฉีดเข็ม 2 แล้วเช่นกัน” นพ.เกียรติกล่าว

ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยฯ รอหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าจะไปต่ออย่างไร ส่วนไบโอเนท-เอเชียก็พร้อมเริ่มผลิตล็อตวัคซีนได้ คาดว่าจะผลิตล็อตรี
ลิสต์เร็วสุดช่วงต้น ธ.ค.นี้ 

อย่างไรก็ตาม นพ.เกียรติ ย้ำว่าทุกเทคโนโลยีแพลตฟอร์มมีความหมายหมด หากมีครบวงจร มีคุณค่าหมด ต้องอาศัยทุกแพลตฟอร์ม แต่ชนิด mRNA ได้พิสูจน์ในโควิดชัดเจนว่าสปีดเร็วสุด มีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้เวลาออกแบบจนทดลอง ได้เร็ว และจะเป็นเทคโนโลยีหนึ่งของอนาคต


ที่มา : ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, prachachat.net

ติดต่อโฆษณา!